เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week1

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 1 : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิงเพื่อสร้างความเข้าใจของตนเอง และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
1

16 - 20
..
2559
โจทย์ :เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key  Questions :
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปิดเรียน มีอะไรบ้างที่นักเรียนประทับใจ?
-
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter  นี้   เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้?
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
เครื่องมือคิด :
Blackboard  Share  ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
Think  Pair Share ตั้งชื่อหน่วยใน Quarter1
Show and Share นำเสนอชิ้นงานสรุป
การเรียนรู้รายสัปดาห์
Round Rubin ตอบคำถามกิจกรรมในช่วงปิดเรียน
Placemat สรุปความเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดี
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ มนุษย์กับพลังงาน
- คลิปวีดิโอ “พลังงานทดแทน”
จันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเปิดคลิปสารคดี “มนุษย์กับพลังงาน”ให้นักเรียนดู
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับ สารคดีที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไรและรู้สึกอย่างไรผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสารคดีมนุษย์กับพลังงาน
 - นักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  6 กลุ่มสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปสารคดีมนุษย์กับพลังงาน ผ่านเครื่องมือ Placemat
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปสารคดีมนุษย์กับพลังงาน ผ่านเครื่องมือ Placemat
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอ Placemat สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสารคดีมนุษย์กับพลังงาน
อังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเปิดคลิปเกี่ยวกับพลังงานทดแทนให้นักเรียนชม
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการชมสารคดี และรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูได้เห็น จากนั้นนักเรียนศึกษาเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
- นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปสารคดีพลังงานทดแทนลงบนกระดาษ A4

พุธ(1 ชั่วโมง)
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ใน Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
เชื่อม :
นักเรียนช่วยกันเลือกเรื่องที่อยากจะเรียน ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard  Share 
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
เชื่อม :
นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือคิด Think  Pair Share
พฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนช่วยกันทำป้ายหน่วยการเรียนรู้ตกแต่งหน้าห้อง
ชง:
 ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์นี้


ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ศุกร์หยุดวิสาขบูชา

ภาระงาน
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
- พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาจากการดูคลิปวีดีโอ

ชิ้นงาน
- Placemat  ความเข้าใจสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
- สรุปความเข้าใจจากคลิปลง A4
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

 ความรู้
สามารถแสดงความคิดเห็น และอธิบายสิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อสร้างความเข้าใจของตนเองและเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น- สามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา


ภาพกิจกรรม







ภาพชิ้นงาน












ตัวอย่างสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะใน Quarter นี้ พี่ๆป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ ในวันแรกครูหนันสร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นให้อยากเรียนรู้โดยการเปิดคลิปวีดีโอเรื่อง มนุษย์กับพลังงานให้นักเรียนได้ชม หลังจากดูเสร็จครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?” พี่บาส: พลังงานเกี่ยวข้องกับเราหมดเลยครับ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “นักเรียนคิดว่าทำไมราคาน้ำมันถึงแพงขึ้น” พี่น้ำอ้อย: หนูคิดว่าเพราะว่าประเทศเราต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศซึ่งเขาคิดค่าขนส่งค่ะครู ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “เราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?” พี่สุเอก: ช่วยกันปิดไปที่ไม่ใช้แล้วค่ะ พี่น้ำมนต์:ช่วยกันปลูกต้นไม้เพราะต้นไม้ช่วยให้ออกซิเจนแก่เราค่ะช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ หลังจากที่จบการสนทนาครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอในรูปแบบ Placemat พร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง ในชั่วโมงต่อมาครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องพลังงานทดแทนให้นักเรียนชม หลังจากดูเสร็จครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร? พี่สุเอก:สิ่งที่ได้เรียนรุ้คือผมได้รู้ว่ามันหมูสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ครับ พี่น้ำอ้อย: หนูได้เรียนรู้ว่าเอทานอลเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแก๊สโซลฮอล์ค่ะ พี่อั้ม:เอทานอลเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแก๊สโซลฮอล์ใช้ผลผลิตทางการเกษตรในการผลิตที่เป็นแป้งค่ะ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย หลังจากที่จบการสนทนาครูให้พี่ๆป.5 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอ ในวันพุธครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้?”พี่ๆป.5 เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือ Card and Chart ได้หัวข้อดังต่อไปนี้ค่ะ พี่ป.5 จำนวน 21 คน อยากเรียนรู้เรื่องพลังงาน พี่ป.5 จำนวนหนึ่งคนอยากเรียนรู้การเอาตัวรอด ครูจึงบูรณาการเข้าด้วยกันกับในเรื่องของพลังงานการสร้างนวัตกรรมใหม่ เมื่อได้หัวข้อสิ่งที่อยากเรียนรู้แล้วครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?” นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่า “Energy” พี่ๆป.5 ให้เหตุผลว่าพลังงานมันคลอบคลุมกับเนื้อหาที่เราจะเรียนและเป็นปัญหากับเราคือเราไม่รู้ว่าพลังงานมีกี่แบบและเราจะนำมาปรับใช้กับเราอย่างไรและถ้าไม่พลังงานหมดเราจะใช้อะไรแทนหลังงานได้บ้าง?หลังจากที่ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้แล้วครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ