เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 6: นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ

Week
Input
Process
Output
Outcome
6
20 - 24
มิ.ย.
2559


โจทย์ : การผลิตไบโอดีเซจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว(ต่อ)  และพลังงานชีวมวลจากเศษวัสดุธรรมชาติ(เตาชีวมวล)
Key  Questions :
- นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนของน้ำมันหรือไม่ อย่างไร?
- นักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้ม และก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด?
เครื่องมือคิด :
 Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
Card and Chart สรุปความเข้าใจก่อนการปฏิบัติ
Wall  Thinking  ชิ้นงาน สรุปผลการลงมือปฏิบัติ
Show and Share  นำเสนอชิ้นงานชาร์ตการออกแบบเตาชีวมวล
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - คลิป ความสำคัญของพลังงานชีวมวล
- ห้องสมุด
- Internet / Computer

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนของน้ำมันหรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- นักเรียนร่วมกันสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับน้ำมันที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ใช้ :
นักเรียนนำน้ำมันที่มีตะกอนไปกรองใหม่อีก 1 รอบ พร้อมลงมือต้มน้ำมัน และผสมสารตั้งต้นในการทำไบโอดีเซล
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนของน้ำมันหรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการสังเกตน้ำมันที่ผสมสารตั้งต้นของกลุ่มตนเอง
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในขั้นตอนต่อไปคือ การล้างน้ำมันไบโอดีเซลด้วยน้ำเปล่า เพื่อน้ำมันไบโอดีเซลมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ก่อนการนำไปใช้งาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำน้ำมันไบโอดีเซลของกลุ่มตนเอง ไปผ่านกระบวนการล้างไบโอดีเซล

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนจะสามารถนำน้ำมันไบโอดีเซลที่นักเรียนผลิตได้ ไปใช้งานจริงได้อย่างไร?”          
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
ใช้ :
- นักเรียนนำน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้ไปผ่านกระบวนการสุดท้ายก่อนการนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น เครื่องตัดหญ้า รถไถนาเดินตาม เป็นต้น
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
- ครูให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในขั้นตอนต่อไปคือ การล้างน้ำมันไบโอดีเซลด้วยน้ำเปล่า เพื่อน้ำมันไบโอดีเซลมีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ก่อนการนำไปใช้งาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำน้ำมันไบโอดีเซลของกลุ่มตนเอง ไปผ่านกระบวนการล้างไบโอดีเซล

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้ม และก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูให้นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด
ชง :
ครูเปิดคลิป ความสำคัญของแก๊สชีวภาพ ให้นักเรียนฟังและชม
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ชมจากคลิปวีดิโอ
ใช้ :
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ออกแบบเตาชีวมวล
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการออกแบบเตาชีวมวลให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
การบ้าน : ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์เพื่อมาทำเตา   ชีวมวล เช่น ปี๊บ ถังสี (ขนาดเล็ก)
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์มาทำเตาชีวมวล
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง:
นักเรียนแต่ละคนนำเตาชีวมวลมาทดสอบประกอบอาหาร(ทอดไข่)
ใช้:
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


 ภาระงาน
- นักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ลงมือทำเตาชีวมวล
- นักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับนำเสนอการออกแบบเตา                 ชีวมวล

ชิ้นงาน
- ชาร์ตการออกแบบเตาชีวมวล
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่อง    ไบโอดีเซล
- การออกแบบเตาชีวมวล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
กิจกรรมคู่ขนาน
- การทำไบโอดีเซล
- การทำเตาเผาถ่าน

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ในการออกแบบชิ้นงานในรูปแบบของ
Flow Chart  ,ละคร,นิทาน,ชาร์ตความรู้ จากข้อมูลที่ได้ศึกษา

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม

ภาพกิจกรรม

















ภาพชิ้นงาน



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้การผลิตเตาชีวมวล ครูตั้งเปิดคลิปวีดีโอการทำเตาชีวมวลให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไร จะทำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?”นักเรียนแต่ละคนร่วมพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อนักเรียนจะมีวิธีการใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติอย่างไรให้ได้ความร้อนที่นานในการหุงต้มและก่อมลภาวะทางอากาศน้อยที่สุด? นักเรียนแต่ละคนพูดคุยแลกเปลี่ยนและออกแบบวางแผนนำเสนอการทำเตาชีวมวล พี่ๆป.5 แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มออกแบบการทำเตาชีวมวลและวางแผนเตรียมอุปกรณ์มาทำเตาชีวมวลแต่ในระหว่างที่ทำเกิดปัญหากลุ่มพี่บาสและกลุ่มพี่เฟรมเตรียมอุปกรณ์มาไม่ครบจึงช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยการขอยืมเพื่อน กลุ่มพี่มอญ:เจอปัญหาปิ๊บที่นำมามีกระจกถ้ากระจกโดนความร้อนก็จะแตกจึงทุบเอากระจกออกก่อนที่จะทำเตาชีวมวล กลุ่มพี่กุ๊ก: เจอปัญหาเจอรูปิ๊บไม่ได้จึงนำปิ๊บไปเจาะรูที่บ้านและในระหว่างที่ทำนั้นกระป๋องสีที่เตรียมมานั้นหลวมเกินไปกลุ่มหนูจึงนำดินเหนี่ยวมาอุดค่ะหลังจากที่พี่ๆทำเสร็จแล้วแต่ละกลุ่มยังไม่ได้ทดลองใช้เนื่องจากเวลาหมดก่อนจึงจะนำไปทดลองใช้ในสัปดาห์ต่อไปค่ะ
    กิจกรรมคู่ขนานการทำไบโอดีเซลในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรุ้กระบวนการแยกกลีเซอรีนออกจากน้ำมันและการล้างน้ำมันไบโอดีเซล ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะแยกน้ำมันออกจากกลีเซอรีนได้อย่างไร?” นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการแยกกลีเซอรีน พี่ป.5 :เทใส่ขวดแยกเลยค่ะ/ครับครู หลังจากนั้นพี่ๆทุกคนแยกย้ายกันไปแยกกรีเซอรีนปรากฏว่ากลีเซอรีนกับน้ำมันไหลมารวมกันหมด ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “นักเรียนจะแยกน้ำมันออกจากกลีเซอรีนได้อย่างไร?”พี่น้ำอ้อย:หนูหาข้อมูลมาเขาบอกว่ามีอีกวิธีหนึ่งคือใช้เข็มเจอค่ะครูหลังจากพูดคุยสนทนาเสร็จพี่น้ำอ้อยก็ทดลองเจาะน้ำมันปรากฏว่าแยกน้ำมันออกจากลีเซอรีนได้และนำไปล้างน้ำ 3-4 น้ำและแยกน้ำกับน้ำมันโดยใช้วิธีเดิมในสัปดาห์หน้าพี่ๆป.5 จะทำการต้มไล่ความชื้นและวัดค่าความเป็นกรดด่างและทดลองนำไปใช้ค่ะ

    ตอบลบ