เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถออกแบบและวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานชีวมวลจากทรัพยากรใกล้ตัวได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
13 - 17
มิ..
2559


โจทย์ : การผลิตไบโอดีเซล
Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่าการทำไบโอดีเซลมีกระบวนการอย่างไรบ้าง
- ไบโอดีเซลมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
- นักเรียนคิดว่าประเทศของเรามีการใช้ไบโอดีเซลในปริมาณมากหรือน้อย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำไบโอดีเซล?
เครื่องมือคิด :
Round Robin แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถามที่ครูถาม
ความเข้าใจเกี่ยวความสำคัญของไบโอดีเซล
Card and Chart ความเข้าเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไบโอดีเซล
 Wall  Thinking  ชิ้นงาน Flow Chart สรุปความเข้าใจหลังผลิตไบโอดีเซล
Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- แหล่งข้อมูล
- ห้องสมุด
- Internet / Computer
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )        
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการทำไบโอดีเซล
- ครูเริ่มพานักเรียนลงมือผลิตไบโอดีเซล
- นักเรียนน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมากรอง เตรียมเข้าสู่กระบวนการผลิตไบโอดีเซล
- นักเรียนผลิตไบโอดีเซล
อังคาร ( 2 ชั่วโมง )
เชื่อม:
- นักเรียนลงมือทำการผลิตไบโอดีเซล (ต่อ)
- นักเรียนเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ บันทึกผล สรุป นำเสนอ
พุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ไบโอดีเซลมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
ใช้ :
นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบ Flow Chart สรุปความเข้าใจหลังผลิตไบโอดีเซล
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าประเทศของเรามีการใช้ไบโอดีเซลในปริมาณมากหรือน้อย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด Internet เป็นต้น

ใช้ :
นักเรียนสรุปความเข้าใจผ่านชาร์ตความรู้
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำไบโอดีเซล?
เชื่อม :
- นักเรียนระดมความคิด แสดงความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม
- นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านเครื่องมือ Card and Chart นำเสนอให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง เพื่อนๆ และคุณครูร่วมกันสะท้อนแสดงความคิดเห็น
ใช้:
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย เช่น Flowchart, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ภาระงาน
ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการทำไบโอดีเซล

ชิ้นงาน
- Flow Chart สรุปความเข้าใจหลังผลิตไบโอดีเซล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
กิจกรรมคู่ขนาน
- การทำไบโอดีเซล
- การทำเตาเผาถ่าน



ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากไบโอดีเซลได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ในการออกแบบชิ้นงานในรูปแบบของ
Flow Chart  ,ละคร,นิทาน,ชาร์ตความรู้ จากข้อมูลที่ได้ศึกษา

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย


ภาพกิจกรรม


















แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. ต่อจากสัปดาห์ที่ 4 ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 เรียนรู้เกี่ยวกับการทำไบโอดีเซลและเตาเผาถ่าน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการทำไบโอดีเซลน่าจะมีกระบวนการอย่างไรบ้าง” นักเรียนคนเตรียมอุปกรณ์และเตรียมทำไบโอดีเซล ขั้นแรกพี่ๆป.5 ช่วยกันกรองน้ำมันพืชที่ใช้แล้วด้วยผ้าขาวบางและนำไปต้มไล่ความชื้น ในระหว่างที่ต้มไล่ความชื้นพี่ๆป.5 วัดอุณหภูมิน้ำมันให้เดือด 100 องศาและจะต้องให้ลดถึง 55-60 องศาถึงจะนำมาทำไบโอดีเซลได้ ในระหว่างที่รอพี่ๆป.5 ชั่งสารและผสมสารเคมี(เมทานอล+ โฟแทตเซียมไฮดรอกไซด์)เกิดปัญหาระหว่างที่ผสมสารเคมีคือ สารทั้งสองตัวไม่ละลาย ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าทำไมสารทั้งสองตัวไม่ละลาย พี่อั้ม พี่น้ำอ้อย พี่น้ำมนต์ :สารโฟแทตเซียมไฮดรอกไซด์มีเม็ดใหญ่เกินไปเลยละลายยากค่ะ พี่ชมพู่: สารเคมีที่เราใช้หนูคิดว่าเราต้องคนเลยทันทีถ้าคนช้าทำให้ไม่ละลายค่ะ พี่มิกซ์:หนูคิดว่าเราน่าจะนำไปตากแดดให้มันละลาย พี่น้ำอ้อย: หนูคิดว่าสารเคมีที่เราใช้เยอะเกินไปค่ะครู หลังจากที่เจอปัญหาพี่ๆต่างก็ช่วยกันคิดและช่วยกันหาข้อมูลมาพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนกันหลังจากที่พูดคุยสนทนาเสร็จพี่ๆป.5 ในชั่วโมงต่อมาพี่ๆแต่ละคนไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่ไม่ละลาย พี่น้ำมนต์ พี่น้ำอ้อย พี่มิกซ์ พี่มิ้นท์ : ไปสอบถามข้อมูลกับครูใหญ่ ได้โจทย์ในการเรียนรู้เรื่องพลังงานดังต่อไปนี้ค่ะ ขวดน้ำพลาสติกกลายเป็นน้ำมัน น้ำหมักเป็นแก๊ส ทำดีเซล แก๊สจากเศษอาหาร จากครูแบ่งกลุ่มนักเรียนให้หาข้อมูลเพื่อที่จะเรียนรู้ในสัปดาห์ต่อไปค่ะ ในวันศุกร์พี่ๆเตรียมอุปกรณ์และทดลองทำไบโอดีเซลอีกครั้งหนึ่งพี่ๆเตรียมสารและลงมือทำไบโอดีเซลปรากฎว่าน้ำมันที่พี่ๆทดลองเกิดการแยกตัวของน้ำมันและกลีเซอรีนแต่เนื่องจากเวลาในการทดลองพี่ๆจึงยังไม่ได้ล้างน้ำมัน พี่ๆจะทำการทดลองต่อในสัปดาห์ต่อไปค่ะ
    กิจกรรมคู่ขนานการเรียนรู้การทำเตาถ่านในสัปดาห์นี้มีผู้ปกครองอาสามาสร้างการเรียนรู้ให้กับพี่ๆป.5 คือการสร้างเตาเผาถ่านพี่ๆผู้ชายต่างก็ตั้งใจเรียนรู้และสร้างเตาเผาถ่านร่วมกับผู้ปกครองในวันแรกเกิดปัญหาเตาเผาถ่านเกิดแตกพี่ๆเลยช่วยกันขุดดินและซ่อมแซมเตาเผาถ่าน ในวันที่สองพี่สุเอกวิ่งหน้าตาตื่นมาหาคุณครูเตาเผาถ่านที่เผาต่างพอไปดูแล้วไม่มีถ่านเลยครับมีแต่ขี้เถ้า ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “นักรียนคิดว่าทำไมถ่านที่เราเผาถึงกลายเป็นขี้เถ้าเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น?” พี่ๆป.5 : เพราะว่าไม้ที่เราเอามาเถาเป็นไม้พุครับไม่ใช่ไม้ดิบ หลังจากที่พูดคุยสนทนาเสร็จครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันนักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ