เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week9

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 9: นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าของพลังงานในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม

Week
Input
Process
Output
Outcome
9
11 - 15
ก.ค.
2559

โจทย์ : พลังงานในอนาคต
Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่า พลังงานที่เราใช้ในทุกวันนี้ ในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร?
- นักเรียนคิดว่า อนาคตพลังงานจะเป็นอย่างไร
?
เครื่องมือคิด :
Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
Card and Chart สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง
 Wall  Thinking  ชิ้นงาน Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กระดาษ 100 ปอนด์
- คลิปวิดีโอรายการ เรื่องยิ่งใหญ่ จากหัวใจเล็ก” (ช่อง Thai PBS) ตอน ตะกอนแห่งแม่น้ำยม
- คลิปวิดีโอ ภัยพิบัติจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- กระดาษ 100 ปอนด์
- ตัวอย่างหนังสือนิทานเล่มเล็ก (ของพี่ ป.6 รุ่นปีการศึกษา 2557)
- คลิปวิดีโอรายการ “เรื่องยิ่งใหญ่ จากหัวใจเล็ก” (ช่อง Thai PBS) ตอน ตะกอนแห่งแม่น้ำยม
- คลิปวิดีโอ ภัยพิบัติจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า พลังงานที่เราใช้ในทุกวันนี้ ในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร?
- ครูให้นักเรียนดูคลิปเส้นทางของพลังงานไทยและอนาคตพลังงานไทย
และคลิปวิดีโอรายการ  (ช่อง Thai PBS) ตอน เขื่อนแม่วงศ์ให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห้นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในคลิปวิดีโอ
ใช้ :
นักเรียนลงมือทำชิ้นงาน เส้นทางและอนาคตของพลังงานไทย ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูทบทวนเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาในชั่วโมงที่ผ่านมา
เชื่อม :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อให้สืบค้น/ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความท้าทายด้านพลังงานที่มีต่อสังคม
- โดยครูได้ให้หัวข้อและโจทย์ไป กลุ่มละ 1 หัวข้อ ปัญหาที่ชุมชน (กรณีตัวอย่าง) ได้รับผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน อาทิ ในพื้นที่จังหวัดเลย จังหวัดกระบี่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดลำปาง
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูทบทวนเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาในชั่วโมงที่ผ่านมา
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นของกลุ่มตนเอง แลกเปลี่ยนกัน 
- ครูและนักเรียน ร่วมกันสะท้อนพูดคุย แลกเปลี่ยนเสนอแนะเพิ่มเติม
ชง :
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า อนาคตพลังงานจะเป็นอย่างไร ?
 เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
 ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนเขียนบทความเกี่ยวกับพลังงานในอนาคต
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )

ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
 ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

 ภาระงาน
- พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นพลังงานในอนาคต
- พูดคุยเกี่ยวกับปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา
- นำเสนอ/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความพลังงานในอนาคต

ชิ้นงาน
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่อง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างแหล่งพลังงาน
- บทความเกี่ยวกับพลังงานในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9

ความรู้
นักเรียนเข้าใจ รู้คุณค่าของพลังงานในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนการแสดงละครจากบทความความเชื่อของคนโบราณเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลประเด็นปัญหาพื้นที่ที่ประสบปัญหาในการสร้างแหล่งพลังงานของรัฐได้อย่างมีวิจารณญาณ และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม


ภาพกิจกรรม











ภาพชิ้นงาน 








ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วพี่ป.5 นำเสนอการแสดงละครการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานหลังจากแสดงเสร็จแล้วครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมแสดงละครของแต่ละกลุ่ม ในส่วนสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบและพลังงานในอนาคตครูเปิดคลิปเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่วงศ์และการทำเหมืองแร่ที่จังหวัดเลยให้นักเรียนดูหลังจากดูเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?” พี่น้ำอ้อย:เราต้องนำพลังงานทดแทนมาใช้แทนค่ะ พี่น้ำฝน:หนูเห็นแถวบ้านหนูเขาสร้างเขื่อนแก้มลิงแทนค่ะใช้พื้นที่ป่าไม่เยเยอะค่ะ พี่วิว:เราได้พลังงานมาไม่คุ้มกับสิ่งที่เราต้องเสียไปเพราะเราจะเสียพื้นที่ป่าและสัตว์ป่าหลายๆชนิดไม่มีที่อยู่ค่ะ พี่มิ้นท์:พอไม่มีป่าเราก็ไม่มีอาหารทำให้เราขาดแคลนอาหารและป่วยเป็นโรคค่ะหลังจากจบการสนทนา นักเรียนคิดว่า พลังงานที่เราใช้ในทุกวันนี้ ในอนาคตจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร? นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน พี่อาร์ม:เราก็ต้องช่วยกันประหยัดไฟครับปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ครับ พี่น้ำอ้อย:ใช้พลังงานทดแทนแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าค่ะ หลังจากจบการสนทนาครุให้นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผลกระทบต่อการใช้พลังงานรวมทั้งพลังงานในอนาคตในรูปแบบบทความและนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังหลังจากนำเสนอเสร็จแล้วครูแล้วครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
    กิจกรรมคู่ขนาน
    ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วพี่ป.5 ไปดูแลเตาถ่านและขนขี้วัวไปเติมใส่ในถังก๊าสชีวภาพและนำน้ำมันไบโอดีเซลไปทดลองในเครื่องตัดหญ้าปรากฎว่าเกิดปัญหาเครื่องตัดหญ้าใช้น้ำมันเบนซินเลยไม่ได้ทดลอง

    ตอบลบ