เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 7 : นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ


Week
Input
Process
Output
Outcome
7
27 มิ.ย.- 1 ..
2559


โจทย์ : ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ น้ำหมักจากการเกษตร
Key  Questions :
- ก๊าชชีวภาพประกอบด้วยก๊าชอะไรบ้างจึงสามารถเปลี่ยนเป็นหลังงานได้
- นักเรียนคิดว่า จะสามารถนำวัสดุธรรมชาติที่ใกล้ตัวเราอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาให้เกิดกระบวนการหมักแก๊สได้ ?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
?
เครื่องมือคิด :
Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา
Card and Chart สรุปความเข้าใจหลังการปฏิบัติ
Wall  Thinking  ชิ้นงาน สรุปผลการลงมือทำน้ำหมักสูตรต่างๆ
Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอเรื่อง การทำแก๊สชีวภาพ
จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูเปิดคลิปการทำแก๊สชีวภาพให้นักเรียนดูหลังจากดูเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร  ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป
อังคาร (2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ก๊าชชีวภาพประกอบด้วยก๊าชอะไรบ้างจึงสามารถเปลี่ยนเป็นหลังงานได้?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกระบวนการหมัก
- นักเรียนแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มศึกษากระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบวิธีการทำน้ำหมักสูตรต่างๆนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ภายในกลุ่มของตนเอง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำมูลสัตว์ไปเติมลงในถังแก๊สข้างโรงอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการทดลอง

พุธ ( 1 ชั่วโมง )

ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามคิด “นักเรียนคิดว่า จะสามารถนำวัสดุธรรมชาติที่ใกล้ตัวเราอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาหมักให้เกิดกระบวนการหมักแก๊ส?”          
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวัสดุในท้องถิ่นที่สามารถนำมาหมักเป็นแก๊สได้
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มศึกษาการทำน้ำหมักในแบบต่างๆเช่น น้ำหมักทางการเกษตร น้ำหมักใช้ถูพื้น น้ำหมักใช้ซักผ้าฯลฯ
 ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
การบ้าน : ครูให้นักเรียนนำวัสดุธรรมชาติมาทำน้ำหมัก เช่น มะกรูด  กากน้ำตาล มะละกอฯลฯ มาจากบ้าน
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำน้ำหมัก
 - นักเรียนจดบันทึก สรุปความเข้าใจ ลงในสมุดของตนเอง
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้?
เชือม:
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
 ภาระงาน
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกระบวนการหมัก
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวัสดุในท้องถิ่นที่สามารถนำมาหมักเป็นแก๊สได้

ชิ้นงาน
- ชาร์ตสรุปองค์ความเข้าใจเรื่องแก๊สชีวภาพ
- น้ำหมักสูตรต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
กิจกรรมคู่ขนาน
- การทำไบโอดีเซล
- การทำเตาเผาถ่าน

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใกล้ตัวได้อย่างมีวิจารณญาณ

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิด
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ในการออกแบบชิ้นงานในรูปแบบของ Flow Chart  ,ละคร,นิทาน,ชาร์ตความรู้ จากข้อมูลที่ได้ศึกษา
- สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการชัพลังงานทดแทนได้อย่างมีวิจารณญาณ

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม

ภาพกิจกรรม















ภาพชิ้นงาน









ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวถังแก๊สชีวภาพโดยครูเปิดคลิปการทำถังแก๊สชีวมวลให้นักเรียนดูหลังจากดูเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไร เห็นอะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันนักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระดาษA4 ชั่วโมงต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ก๊าซชีวภาพประกอบด้วยก๊าซอะไรบ้างจึงสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ เพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น?”ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเกิดกระบวนการหมัก
    พี่สุเอก:ครูครับเพราการหมักจะเกิดแก๊สครับและผมไปถามแม่มาแม่เคยทำน้ำหมักที่ใช้ถูพื้นเขาใช้เปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวครับและใช้เวลา 3 เดือน และผมเห็นน้ำหมักระเบิดด้วยเพราะมีแก๊สทำให้เกิดแรงดันครับ
    พี่น้ำอ้อย:เพราะมีแก๊สมีเทนค่ะช่วยให้ติดไฟ พี่ซอ:มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่ะเกิดจากการหมักและมีแบคทีเรียมากินอาหารเปลี่ยนเป็นแก๊สค่ะ พี่มิ้นท์:พ่อหนูก็เคยทำค่ะแต่เป็นน้ำหมักไล่แมลงค่ะ หลังจบการสนทนานักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการหมักเพิ่มเติมหลังจากค้นหาเสร็จแล้วครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการหมักหลังจากจบการสนทนานักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบวางแผนและเตรียมอุปกรณ์มาทำน้ำหมักตามสูตรของกลุ่มตัวเองค่ะ หลังจากที่ทำเสร็จครูและนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ในวันศุกร์พี่ๆป.5 ทดลองเตาชีวมวลที่ทำไว้โดยการการวางแผนและออกแบบเมนูร่วมกันคือทอดไข่ ในระหว่างที่ก่อไฟเกิดปัญหาก่อไฟไม่ติด เตามีควันเยอะเกินไป หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าทำไมเตาชีวมวลของเรามีควันเยอะ กลุ่มพี่บีม:อาจจะเป็นเพราะเรานำเศษวัสดุที่เป็นใบไม้มาครับเลยทำให้เกิดควันมากถ้าเรานำกิ่งไม้ผมคิดว่าน่าจะมีควันน้อยลง กลุ่มพี่โต้ง:กลุ่มของพวกผมใช้ไม้เลยไม่ค่อยมีควันครับหลังจากจบการสนทนาครูทบทวนเกี่ยวกับโจทย์คำถามในสัปดาห์ที่5 ดังนี้ ขวดน้ำพลาสติกกลายเป็นน้ำมัน นักเรียนแต่ละคนพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับข้อมูลที่ไปศึกษาค้นคว้ามา พี่น้ำมนต์:ขวดน้ำพลาสติกกลายเป็นน้ำมันส่วนมากเขามีเครื่องทำค่ะครูเขาจะให้เตาละลายขวดน้ำพลาสติกและก็เกิดเป็นไปกลายเป็นน้ำมันค่ะครูถ้าเราจะทำคงต้องใช้เงินเยอะๆเพราะที่หนูไปศึกษามาเขาใช้เครื่องอบตั้งมากกว่า 400 องศา หลังจากจบการสนทนาครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ