เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week10

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 10:  นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วย วิกฤตการณ์พลังงานโลก ผ่านละคร ภาพวาด การนำเสนอด้วยคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
10

18 - 22
..
2559

โจทย์ :การสรุป/ถ่ายทอดและนำเสนอหน่วยที่ได้เรียนรู้
Key Questions :
- การเตรียมนำเสนอผลงานของนักเรียน เกิดปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ เพราะเหตุใด และมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
- จากการเรียนรู้หน่วย พลังงานนักเรียนจะถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นได้เข้าใจได้อย่างไร ด้วยวิธีการใดบ้าง?
เครื่องมือคิด :
Round Robin  แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ไข
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผย แพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับหน่วย พลังงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
Mind Mapping สรุปความเข้าใจหลังการเรียนรู้
Show and Share นำเสนอชิ้นงาน  และแสดงละคร
Blackboard  Share ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนตลอดทั้ง Quarter
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ผลงานต่าง ๆ ที่นักเรียนนำเสนอ
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ในหน่วยพลังงาน?”
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นคำถาม ผ่านเครื่องมือ (Round Robin)
ใช้ :
นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เป็นการสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจใน Q.1 ลงในกระดาษ A3
อังคาร( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าการเรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter นักเรียนสามารถตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ :
นักเรียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
พุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดจากการเรียนรู้หน่วย พลังงานนักเรียนจะถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นได้เข้าใจได้อย่างไร ด้วยวิธีการใดบ้าง?
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ผ่านเครื่องมือ (Round Robin)
- นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสามารถและความถนัดในการถ่ายทอด/เผยแพร่องค์ความรู้ความเข้าใจ เช่น การแสดงละคร การนำเสนอด้วยคำพูด การนำเสนอด้วยภาพ เป็นต้น
ใช้ :
- นักเรียนลงมือฝึกซ้อมในแต่ละกลุ่มตามที่ได้จัดแบ่งไว้ในข้างต้น
- ร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมและสิ่งที่ดีแล้วจากการซักซ้อมการนำเสนอ
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะทำอย่างไรให้การนำเสนอองค์ความรู้ให้น่าสนใจและผู้ชมได้รับประโยชน์มากที่สุด
เชื่อม :
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ผ่านเครื่องมือ (Round Robin)
ใช้ :
- นักเรียนลงมือฝึกซ้อมในแต่ละกลุ่มตามที่ได้จัดแบ่งไว้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมและสิ่งที่ดีแล้วจากการซักซ้อมการนำเสนอ
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากการเรียนรู้หน่วยพลังงาน นักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ดีแล้ว และอะไรที่ตนเองต้องพัฒนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนรู้หน่วยพลังงาน
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยน คำถาม ข้อสงสัยจากสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย พลังงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
ใช้:
- นักเรียนลงมือประเมินตนเองลงในกระดาษ A4
- นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
ฝึกซ้อมการสรุป/ถ่ายทอดและนำเสนอหน่วยที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย พลังงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ความเข้าใจ Quarter 1 หลังการเรียนรู้
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่ดีแล้ว
และสิ่งที่ควรพัฒนา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10

ความรู้
นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วย วิกฤตการณ์พลังงานโลก ผ่านละคร ภาพวาด การนำเสนอด้วยคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
- การถ่ายทอด การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
ทักษะการคิด
การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
 ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนในรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ (นำเสนอผลงาน ภาพวาด ละคร )

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น อย่างไม่มีอคติ เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตาม เป้าหมาย



ภาพกิจกรรม









ภาพชิ้นงาน













ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ Energy for life พลังงานเพื่อชีวิต ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด” นักเรียนจะถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นได้เข้าใจได้อย่างไร ด้วยวิธีการใดบ้าง?” ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ Energy for life พลังงานเพื่อนชีวิต จากนั้นนักเรียนแต่ละคนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้และนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังร่วมกัน

    กิจกรรมคู่ขนาน
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆแต่ละคนไปเปิดเตาถ่านและเก็บถ่านปราฏว่าถ่านเป็นแท่งสำเร็จหลังจากที่เก็บถ่านเสร็จแล้วครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันจากการทำเตาเผาถ่าน ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน พี่อั้ม พี่บีม พี่สุเอก: ไม้ที่เรานำมาเป็นไม้แห้งมีอากาศเยอะเลยเผาออกมามีขี้เถ้าเยอะค่ะ/ครับ พี่บีม:ถ้าเราใช้ไม้ดินเราจะได้ถ่านเป็นแท่งและมีขี้เถ้าน้อยครับ

    ตอบลบ