เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 3: นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนได้


Week
Input
Process
Output
Outcome
3
30..
-3 มิ..
2559


โจทย์ : แหล่งพลังงานทดแทนจากไบโอดีเซล
Key  Questions :
- เราสามารถผลิตน้ำมันใช้เองได้หรือไม่ อย่างไร?
- ก่อนที่เราจะเริ่มดำเนินการผลิตไบโอดีเซล เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
Round Robin แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดิโอเรื่องพลังงานทดแทน
Wall  Thinking  ชิ้นงานชาร์ตความรู้
Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดิโอเรื่องพลังงานทดแทน
-คลิปวีดีโอ “ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช
- ห้องสมุด
- Internet
- บรรยากาศภายใน/ภายนอกชั้นเรียน

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน            
- ครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องพลังงานต่างๆให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอเรื่องพลังงานต่างๆ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มเพื่อจับฉลากสืบค้นพลังงานดังต่อไปนี้
1.พลังงานลม
2. พลังงานน้ำ
3. หลังงานนิวเคลียร์
4.พลังงานใต้พิภพ
5. พลังงานทดแทน
ใช้ :
- นักเรียนแต่นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังในรูปแบบที่น่าสนใจ(ชาร์ตความรู้ นิทานช่อง ละคร ฯลฯ)
อังคาร ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
ครูเปิดคลิปวีดีโอพลังงานทดแทนตอน การทำน้ำมันไบโอดีเซลให้นักเรียนดู หลังจากดูจบครุตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร?
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเราสามารถผลิตน้ำมันใช้เองได้หรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ“ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชโดยผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำไปโอดีเซลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด Internet ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิปลงในชิ้นงานผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
เชื่อม :
นักเรียนนำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง
พุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “เราจะสามารถผลิตไบโอดีเซลได้อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
พฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ก่อนที่เราจะเริ่มดำเนินการผลิตไบโอดีเซล เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
ใช้:
ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการผลิตไบโอดีเซล เช่น ทำความสะอาด ตรวจสอบสภาพการใช้งาน ฯลฯ
ศุกร์ ( 3 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม :
ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ :
นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ภาระงาน
- พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดีโอพลังงานทดแทน
- นำเสนอชาร์ตความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานต่างๆ

ชิ้นงาน
- สรุปชาร์ตความเข้าใจจากข้อมูลด้านพลังงานที่สืบค้น
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอพลังงานทดแทน ตอน การทำไบโอดีเซล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ความรู้
นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- คิดจินตนาการเชื่อมโยงและแยกแยะข้อมูลจากสิ่งที่ได้พบเห็นและค้นคว้า
- มีความรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตาม
เป้าหมาย
- มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน
- รู้เวลาและหน้าที่ของตน

ภาพกิจกรรม













ตัวอย่างชิ้นงาน










ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้การเรียนรู้รายสัปดาห์







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลและพลังงานต่างๆครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนจะวางแผนการผลิตพลังงานเพื่อนำมาใช้และทดแทนพลังงานที่มีอยู่อย่างไรโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม?”ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการผลิตพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในท้องถิ่นในสัปดาห์นี้เกิดปัญหาเนื่องจากน้ำมันที่เตรียมมายังไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล พี่ๆป.5 จึงเรียนรู้พลังงานต่างๆ นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อดังต่อไปนี้
    - พลังงานทดแทน(น้ำมันไบโอดีเซล/งานมวลชีวภาพ)
    - พลังงานน้ำ พลังงานลม
    - พลังงานแสงอาทิตย์
    - พลังงานนิวเคลียร์
    - พลังานใต้พิภพ
    นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลและนำเสนอความคืบหน้าของงานให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
    - กลุ่มพี่แป้ง (พลังงานทดแทน น้ำมันไบโอดีเซล/งานมวลชีวภาพ):ทำมาจากวัตถุทางการเกษตรเช่น มูลสัตว์ แกรบ เศษไม้ เอามาหมักเป็นก๊าซชีวมวล
    -กลุ่มพี่น้ำอ้อย (พลังงานน้ำ พลังงานลม): พลังงานน้ำมีกระบวนการผลิตปล่อยน้ำลงจากที่สูงและมีตัวผลิตไฟฟ้าคือกังหันวิดน้ำค่ะครู พี่ซอ:พลังงานลมเป็นพลังงานที่สะอาดค่ะครูผลิตเป็นพลังงานโดยใช้ลมและใบพัดเป็นตัวรับพลังงานค่ะครู
    - พี่น้ำมนต์(พลังงานแสงอาทิตย์): เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ใช้โซลาร์เซลล์เป็นตัวรับแสงและแสงที่กักเก็บไว้และนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าค่ะ
    - กลุ่มพี่มิกซ์(พลังงานนิวเคลียร์): เป็นพลังงานที่ผลิตขึ้นมามีอนุภาคที่รุนแรงและเป็นพลังงานที่มหาศาล มีโทษที่รุนแรงใช้เป็นระเบิดและก็มีประโยชน์คือให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าค่ะครู
    - กลุ่มพี่สุเอก (พลังงานใต้พิภพ): พลังงานใต้ภิพคือ ซากฟอสซิล ทับถมกันแล้วเกิดเป็นถ่านหินและน้ำมันครับ พี่อั้ม: รวมทั้งพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้พิภพ
    หลังจากที่พูดคุยสนทนาเสร็จนักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มานำเสนออีกครั้งในรูปแบบที่น่าสนใจเช่น การ์ตูนช่อง ชาร์ตความรู้ อินโฟกราฟฟิก ฯลฯ เนื่องจากสัปดาห์นี้มีเนื้อหายังไม่ครอบคลุมจึงนำไปนำเสนอในสัปดาห์ที่ 4 ครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันนักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ