เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):
- เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของพลังงานทดแทน อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานทดแทนจากทรัพยากรใกล้ตัวที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- สามารถนำความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมทั้งวิธีการประหยัดหรือลดการใช้พลังงานไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ที่ 8 : นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของพลังงาน รวมทั้ง สามารถปฏิบัติและถ่ายทอดการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีวิจารณญาณ
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
4 - 8 .ค.
2559


โจทย์ : ประโยชน์และผลกระทบของพลังงาน  การประหยัดและการอนุรักษ์พลังงาน
Key  Questions :
- นักเรียนคิดว่าพลังงานมีประโยชน์และโทษอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
- นักเรียนคิดว่า เราจะสามารถหยุดภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรบ้าง
?
- นักเรียนจะมีวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
- นักเรียนจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
Wall  Thinking  ชิ้นงาน บท /Story Broad ละคร
Show and Share  นำเสนอชิ้นงาน, การแสดงละคร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - สารคดี/หนังสั้นเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

จันทร์ ( 2 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนชมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือโทษที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสะท้อนและพูดคุยเกี่ยวกับคลิปวิดีโอที่ชมจบลงไป
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นใกล้ตัว
ชง:
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนคิดว่าพลังงานมีประโยชน์และโทษอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
เชื่อม:
ครูแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3-4 คน หาข้อมูลเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของพลังงาน มาแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอประโยชน์และโทษจากการใช้พลังงานของกลุ่มตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม
อังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง:
ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม นักเรียนจะมีวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin 
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-4 คน
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ให้ได้มากและหลากหลายวิธีที่สุด
- นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ให้ได้มากและหลากหลายวิธีที่สุด
ชง:
- ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม นักเรียนจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
- ครูนักเรียนดูสารคดีเกี่ยวกับการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานหลังจากการชมสารคดีและละครจบลงครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร เห็นอะไรและนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
เชื่อม:
ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม โดยให้เขียนบท/Story Broad ละครที่จะใช้ในการแสดงถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
พุธ(1 ชั่วโมง)
ใช้:
นักเรียนฝึกซ้อมละครเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
พฤหัสบดี(1 ชั่วโมง)
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอละครเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานเพื่อนๆได้รับชม
ศุกร์(2 ชั่วโมง)
ชง:
 ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับการตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ใช้:
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


 ภาระงาน
- ระดมความคิดวิธีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ซ้อมละคร
- นำเสนอชิ้นงาน

ชิ้นงาน
- วิธีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- บท/ Story Broad ละคร
- สรุปการเรียนรู้รายที่ 8
กิจกรรมคู่ขนาน
- การทำไบโอดีเซล
- การทำเตาเผาถ่าน

ความรู้
นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของพลังงาน รวมทั้ง สามารถปฏิบัติและถ่ายทอดการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีวิจารณญาณ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนการแสดงละครจากบทความความเชื่อของคนโบราณเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะการคิด
สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์ได้อย่างมีวิจารณญาณ

คุณลักษณะ :
- เคารพสิทธิ์และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น การไม่พูดแทรก ยกมือก่อนแสดงความคิดเห็น
- รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งงานตรงตามเวลา
- การคิดเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบๆ ตัวเรา ที่มีผลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม




ภาพกิจกรรม





กิจกรรมคู่ขนาน













ภาพชิ้นงาน





ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบของพลังงาน การประหยัดและการอนุรักษ์พลังงาน ครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับภัยพิบัติเกี่ยวการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
    - นักเรียนคิดว่าพลังงานมีประโยชน์และโทษอย่างไรต่อชีวิตของเรา?
    - นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถหยุดภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรบ้าง?
    - นักเรียนจะมีวิธีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?
    พี่สุเอก: ถ้าเราใช้พลังงานอย่างไม่รู้คุณค่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเราครับ
    พี่น้ำอ้อย:เอาง่ายๆเลยค่ะครูเราต้องช่วยกันประหยัดพลังงานปิดไฟ พัดลมเมื่อเราไม่ใช้แล้วค่ะ
    พี่เฟรม:น้ำที่เราใช้ซักผ้าเราสามารถนำมารถน้ำต้นไม้ได้ครับเพื่อช่วยลดพลังงานน้ำ
    พี่อั้ม: เราควรลดการเล่นอินเตอร์เน็ตแล้วหันมาออกกำลังกายแทนค่ะเพราะเราเล่นอินเตอร์เน็ตแล้วจะทำให้เปลืองค่าไฟแต่ถ้าเราออกออกกำลังกายหรือกิจกรรมอย่างอื่นแทนเราก็จะได้ประหยัดค่าไฟและทำให้เรามีสุขภาพดีด้วยค่ะ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ“นักเรียนจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจและตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างไรบ้าง?” พี่ๆป.5 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอการถ่ายทอดการอนุรักษ์พลังงานพี่ๆแต่ละกลุ่มจะนำเสนอถ่ายทอดการอนุรักษ์พลังงานผ่านการเล่นละครและนำไปนำเสนอให้น้องๆได้ประหยัดพลังรวมทั้งตระหนักถึงการใช้พลังงาน จากนั้นพี่ๆแต่ละกลุ่มเขียน Storybroad และซ้อมการนำเสนอแต่เนื่องจากเวลาในการซ้อมและการเตรียมตัวน้อยพี่ๆป.5 เลื่อนการแสดงไปในสัปดาห์ที่ 9 ค่ะ
    กิจกรรมคู่ขนาน ในสัปดาห์นี้กินกรรมคู่ขนานของพี่ป.5 คือการทำเตาเผาถ่าน การทำไบโอดีเซลและการทำก๊าซชีวภาพ ในสัปดาห์นี้ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับกิจกรรมคู่ขนาน(การทำเตาเผาถ่าน การทำไบโอดีเซลและการทำก๊าซชีวภาพ) ปัญหาที่เกิด/วิธีการแก้ไขปัญหา ทำอย่างไรให้สำเร็จและนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร พี่ป.5 :เราการทำเตาเผาถ่าน การทำไบโอดีเซลและการทำก๊าซชีวภาพอีกครั้งครูเราจำทำให้สำเร็จ พี่ป.5แบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อลงมือทำงานหลังจากที่ทำเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาในระหว่างการทำงานพี่ป.5ทุกคนแบ่งหน้าที่กับทำครับเลยไม่ค่อยมีปัญหาและงานเสร็จเร็ว พี่น้ำอ้อย:การต้มไล่ความชื้นไบโอดีเซลยังทำไม่ได้ค่ะเนื่องจากในสัปดาห์นี้ฝนตกทำให้ต้มไล่ความชื่นได้ยากจึงเลื่อนไปต้มและทดลองใช้งานในสัปดาห์ที่ 9 ค่ะ พี่น้ำมนต์: การก๊าซชีวมวลจากขี้วัวทำได้ยากค่ะเพราะขี้วัวมีกลิ่นเหม็นแต่เพื่อนๆทุกคนก็ช่วยกันทำจนสำเร็จค่ะ ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ